วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



วิธีการเล่นมอญซ่อนผ้า


ภาพประกอบการเล่นมอญซ่อนผ้า

ขั้นที่ 1 ให้ผู้เล่นทั้งหมดจับไม้สั้นไม้ยาว ผู้ที่ได้ไม้สั้นที่สุด ถือผ้าเช็ดหน้าที่เตรียมไว้แล้วออกไปยืนข้างนอก ที่เหลือนอกนั้นนั่งกันเป็นวงกลม หันหน้าเข้าหากัน ในระยะห่างกันประมาณ 1 ศอก เอามือทั้งสองพาดไว้ที่ตัก แล้วช่วยกันร้องเพลงประกอบเพื่อความรื่นเริงและสนุกสนาน

        ขั้นที่ 2 ให้ผู้ถือผ้าบังตัวไว้มิให้ผู้นั่งเห็นได้ถนัด แล้วเดินหรือวิ่งไปรอบๆ วงต้องทำท่าหรือหน้าตาให้สนิท เดินบ้างวิ่งบ้าง ทำเป็นวางผ้าแต่ไม่วาง เพื่อหลอกล่อผู้ที่นั่งให้เผลอตัวเมื่อเห็นเป็นโอกาสแล้วก็แอบหย่อนผ้าลงไว้ใกล้หลังผู้นั่งคนใดคนหนึ่ง เมื่อวางผ้าแล้วควรเดินหรือวิ่งให้เร็วต่อไปเพื่อกลับถึงที่เดิมโดยมิให้ผู้นั้นต้องรู้ตัว

        ขั้นที่ 3 ถ้าผู้ถูกวางผ้าข้างหลังรู้สึกตัวเสียก่อนผู้วางผ้ามาถึง ก็ต้องรีบฉวยผ้าวิ่งมานั่งแทนที่ของตนได้ แล้วจึงเดินหาโอกาสวางผ้าไว้ข้างหลังผู้หนึ่งผู้ใดต่อไป แต่ถ้าถูกวางข้างหลังไม่รู้สึกตัว จนผู้ที่วางวิ่งมาถึงก็หยิบผ้าที่วางนั้นขึ้นฟาดผู้ถูกวางจนกว่าจะลุกขึ้นรับผ้าออกเดิน ผู้วางจึงลงนั่งแทนที่



กติกาการเล่นมอญซ่อนผ้า

1.ผู้ที่ถือผ้าจะต้องเดินหรือวิ่งไปรอบวงในทางเดียวกัน
2.ผู้เล่นที่นั่งจะต้องนั่งอยู่เฉย ๆ ไม่สามารถลุกเดินมือเปล่าไปมาได้ หรือห้ามมองผู้เล่นที่เดินถือลูกตูม
3.เมื่อผู้เล่นเดินจบครบรอบแล้วจะต้องซ่อนลูกตูมไว้ข้างหลังผู้เล่นที่นั่งอยู่แต่ต้องไม่ให้ลูกตูมอยู่ห่างจากตัวมากนัก
4.จะต้องซ่อนฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นจะซ่อนฝ่ายเดียวกันไม่ได้ เช่น ถ้าแบ่ง เป็นฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ฝ่ายชายจะต้องซ่อนฝ่ายหญิง และฝ่ายหญิงจะต้องซ่อนฝ่ายชาย
5.เมื่อซ่อนแล้วจะต้องวิ่งหนีไปรอบ ๆ วงกลม จะวิ่งย้อนทางหรือตัดวงไม่ได้

โรงเรียนพิชญ์ชนก

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1     ภาคเรียนที่ 2/........

วิชานาฏศิลป์   หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การละเล่นของเด็กไทย      เวลาทั้งหมด 8 ชั่งโมง

                  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10   การละเล่นของเด็กไทย  (มอญช่อนผ้า)  เวลา   2  ชั่วโมง

……………………………………………………………………………………………………

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ศ 3.2       เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์  ประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรม  เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล

                ตัวชี้วัด

                มฐ.ศ 3.2 ป.1/1  ระบุและเล่นการละเล่นของเด็กไทย

สาระสำคัญ

มอญซ่อนผ้าเป็นการละเล่นของเด็กไทยที่มีบทเพลงประกอบการเล่น ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานและ มีความสุข  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

สาระการเรียนรู้

                ความรู้

การละเล่นของเด็กไทย:  มอญซ่อนผ้า

                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

                การให้เหตุผล   การสรุปความรู้   การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ   การปฏิบัติ/การสาธิต     

                คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  ซื่อสัตย์สุจริต

วัตถุประสงค์

                1.นักเรียนสามารถสรุปได้ว่า  มอญซ่อนผ้าเป็นการละเล่นของเด็กไทยที่มีบทเพลงประกอบการเล่น ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานและมีความสุข  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
                2.นักเรียนสามรถเล่นการละเล่นมอญซ่อนผ้าได้ถูกต้องตามกติกา

ชิ้นงานหรือภาระงาน(หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)
       1.  แบบบันทึกการเล่นมอญซ่อนผ้า

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.  ครูนำบัตรคำ   มอญซ่อนผ้า    มาติดไว้บนกระดาน  แล้วพานักเรียนอ่านจำนวน 1 รอบ  จากนั้นใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นดังนี้

     -  นักเรียนเคยเล่นมอญซ่อนผ้าหรือไม่ (เคย/ไม่เคย)

     -  เมื่อเล่นมอญซ่อนผ้าแล้ว  นักเรียนรู้สึกอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ  สนุกสนาน)

                2.  ครูนำแผนภูมิเพลงประกอบการเล่นมอญซ่อนผ้ามาติดไว้บนกระดานและปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

                     -  พานักเรียนอ่านทีละท่อนจนทุกคนสามารถอ่านได้ถูกต้อง

                     -  พานักเรียนร้องประกอบจังหวะจนทุกคนสามารถร้องได้ถูกต้อง

                     -  อธิบายวิธีการเล่นและกติกาการเล่นมอญซ่อนผ้าให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ

                     -  คัดเลือกผู้แทนนักเรียนออกมาสาธิตการเล่นมอญซ่อนผ้าให้นักเรียนดูจำนวน 3 รอบ
                     -  ให้นักเรียนเล่นมอญซ่อนผ้าแล้วบันทึกผลการเล่น  ลงในแบบบันทึกดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

แบบบันทึกการเล่นมอญซ่อนผ้า

ชื่อ ________________ นามสกุล _____________ ชั้น _____ เลขที่______

1.  การละเล่นที่เล่น____________________________________________

2.  ความรู้สึกที่มีต่อการละเล่นมอญซ่อนผ้า­­­­______________________________

3.  ความรู้สึกเมื่อได้เล่นการละเล่นไทย________________________________

4.  ถ้ามีเวลาว่างจะนำการละเล่นไปเล่นกับเพื่อนหรือไม่______________________

5.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการละเล่นมอญซ่อนผ้า___________________________
 
            
3.  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์การละเล่นมอญซ่อนผ้า โดยครูใช้คำถามดังนี้
                     -  นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์การละเล่นมอญซ่อนผ้าให้คงอยู่คู่สังคมไทยได้อย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ  นำการละเล่นมอญซ่อนผ้ามาเล่นกับเพื่อนๆ เสมอ)
              4.  ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ดังนี้  มอญซ่อนผ้าเป็นการละเล่นของเด็กไทยที่มีบทเพลงประกอบการเล่น  ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานและมีความสุข  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
               5  ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูใช้คำถามท้าทาย  ดังนี้
                     -  การละเล่นมอญซ่อนผ้าช่วยให้เล่นกีฬาชนิดใดได้ดี
สื่อการเรียนรู้
1.บัตรคำ
             2.แผนภูมิเพลงประกอบการละเล่นมอญซ่อนผ้า
              3.แบบบันทึกการเล่นมอญซ่อนผ้า
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                1.  วิธีการวัดและประเมินผล
                     -  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
                2.  เครื่องมือ
                     -  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
                3.  เกณฑ์การประเมิน
                     -  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  ผ่านตั้งแต่ 2 รายการถือว่า ผ่าน  ผ่าน 1 รายการ       ถือว่า  ไม่ผ่าน
การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)
                ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) เรื่อง เล่นการละเล่นมอญซ่อนผ้า
                ตัวชี้วัด  ระบุและเล่นการละเล่นของเด็กไทย (มฐ.ศ 3.2 ป.1/1)

 

เกณฑ์การประเมิน

ระดับคะแนน

4

(10  คะแนน)

3

(9  คะแนน)

2

(7-8  คะแนน)

1

(5-6  คะแนน)

เล่นการละเล่นมอญซ่อนผ้า

เล่นการละเล่น  มอญซ่อนผ้าได้ตามกติกาและแนะนำให้ผู้อื่นเล่นได้

เล่นการละเล่น  มอญซ่อนผ้าได้ตามกติกาและมีเทคนิคการเล่นของตนเอง

เล่นการละเล่น  มอญซ่อนผ้าได้ตามกติกา

เล่นการละเล่น มอญซ่อนผ้าแต่ได้ไม่ถูกต้องตามกติกา
 



แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
เรื่อง การละเล่นมอญซ่อนผ้า
 
 




1.จากภาพเป็นการละเล่นอะไร

ก.มอญซ่อนผ้า                     ข.รีรีข้าวสาร                         ค.งูกินหาง

2.การละเล่นมอญซ่อนผ้าใช้ผู้เล่นทั้งหมดกี่คน

ก. 3 คน                                 ข.7  คน                                 ค.กี่คนก็ได้

3.อุปกรณ์ที่ใช้ในกรละเล่นมอญซ่อนผ้าคืออะไร

.ผ้า                                       ข.ตุ๊กตา                                  ค.กระป๋องแป้ง

4.การละเล่นมอญซ่อนผ้ามีผู้เล่นที่เป็นมอญกี่คน

ก.1  คน                                 ข.2  คน                                 ค.3  คน

5.การละเล่นมอญซ่อนผ้าผู้ที่เป็นมอญต้องทำอย่างไร

ก.นำผ้าไปวางที่ตักผู้เล่น    ข.นำผ้าไล่ตีผู้เล่นทุกคน     ค.นำผ้าไปซ่อนที่หลังผู้เล่น

6.การละเล่นมอญซ่อนผ้าผู้เล่นนั่งในลักษณะใด

ก.นั่งแถวหน้ากระดาน      ข.ล้อมเป็นวงกลม               ค.นั่งเป็นคู่

7.ผู้ที่ถูกตีต้องวิ่งให้ครบกี่รอบถึงจะเข้านั่งที่เดิม

ก.3  รอบ                               ข.2  รอบ                               ค.1  รอบ

8.ข้อใดคือกติกาที่ถูกต้อง

ก.นั่งยองๆ                            ข.ใช้มือคลำได้                     ค.หันไปดูข้างหลัง

9.มอญซ่อนผ้า ..................อยู่ข้างหลัง คำที่หายไปคือข้อใด

ก.ผ้าเช็ดหน้า                        ข.ตุ๊กตา                                  ค.ผ้าขาวม้า

10.การละเล่นมอญซ่อนผ้ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
.ร่างกายอ่อนแอ                ข.ร่างกายแข็งแรง               ค.ร่างกายซูบผอม


มอญซ่อนผ้า




                   การเล่นเป็นกลุ่ม กี่คนก็ได้ ผู้เล่นทั้งหมดนั่งล้อมวงหันหน้าเข้าหากัน ให้ผู้เล่นคนหนึ่งเป็นมอญเดินอยู่นอกวงรอบๆ ผู้เล่นที่นั่ง ผู้เล่นทุกคนร้องคำกลอน "มอญซ่อนผ้า......ระวังให้ดีฉันจะตีก้นเธอ" จะเดินกี่รอบก็ได้ ขณะเดินต้องพลางไม่ให้ผุ้นั่งมองเห็นผ้า เมื่อผู้ใดดเผลอให้วางผ้าข้างหลังแล้วเดินวนอีกรอบ ถ้าผู้นั่งยังไม่รู้ตัวก็จะหยิบผ้าไล่ตีมอญ มอญจะต้องรีบวิ่งมานั่งแทนที่ และผู้ไดได้ผ้าก็จะเป็นมอญ แล้วเล่นต่อไปเหมือนเดิม

 
ที่มาของการละเล่นมอญซ่อนผ้า




การละเล่นมอญซ่อนผ้าไม่ใช่การละเล่นของมอญ แต่เป็นการละเล่นที่คนไทยคิดขึ้น ด้วยความที่คนไทยและคนมอญมีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คนไทยจึงหยิบยกเอาจุดอ่อนของมอญมเหย้าแหย่กันตามประสาเพื่อนฝูง


องค์ประกอบในการเล่นมอญซ่อนผ้า

วัตถุประสงค์
1.เพื่อการคบค้าสมาคมกับบุคคลอื่น
2.เพื่อเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้ง
3.เพื่อฝึกไหวพริบ

ผู้เล่น 
ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่นิยมให้มีผู้เล่นมากกว่า 8 คน เป็นชายและหญิงฝ่ายละครึ่ง

อุปกรณ์
ผ้า 1 ผืน


รูปแบบ 
ผู้เล่นนั่งล้อมเป็นวงกลมหันหลังให้กัน ดังภาพประกอบ




ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นมอญซ่อนผ้า
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 33

เพลงประกอบการเล่นมอญซ่อนผ้า
มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ


สื่อการสอน
เรื่อง การละเล่นมอญซ่อนผ้า


การละเล่นพื้นบ้าน




การละเล่นมอญซ่อนผ้า

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ-นามสกุล                                                        นางสาวดวงกมล  สอนเสถียร

วันเดือนปีเกิด                                                      18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ตำแหน่ง                                                                ครูประจำวิชานาฏศิลป์